วางแผนอย่างไรให้ เป็นหนี้ไม่เป็นทุกข์

Last updated: 9 มิ.ย. 2567  |  100 จำนวนผู้เข้าชม  | 

วางแผนอย่างไรให้ เป็นหนี้ไม่เป็นทุกข์

วางแผนอย่างไรให้ เป็นหนี้ไม่เป็นทุกข์

การเป็นหนี้ไม่ใช่เรื่องผิดเสมอไป เพราะในบางสถานการณ์ก็จำเป็นต้องก่อหนี้ เช่น เป็นหนี้จากการซื้อบ้านหรือรถยนต์ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต เนื่องจากการจะเก็บเงินให้ครบทั้งจำนวนนั้น ต้องใช้เวลามากเกินไป หรือเป็นหนี้จากการใช้จ่ายที่จำเป็นเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ดังนั้น หัวใจของการเป็นหนี้ เพื่อไม่ให้เป็นทุกข์  


1. ขอสินเชื่อเท่าที่รายได้เราผ่อนไหว

  เป็นหนี้เท่าที่ผ่อนไหว ต้องมั่นใจก่อนว่ากู้แล้วจะผ่อนไหว ไม่ควรมีภาระหนี้เกินร้อยละ 40 ถึง 60 ของรายได้ประจำ เพื่อให้มีเงินเหลือไว้สำหรับใช้จ่ายในชีวิตประจำวันหรือยามฉุกเฉินบ้าง มิฉะนั้นเมื่อเงินไม่พอใช้ก็จะกู้หนี้เพิ่มทำให้มีหนี้บานปลาย ไม่สิ้นสุดจนกลายเป็นปัญหาการเงินในอนาคตที่จะตามมา



2. เป็นหนี้แล้วต้องจ่าย

  มีวินัย เก็บออม เพื่อส่งงวดบ้านสม่ำเสมอ ต้องมีวินัยจ่ายหนี้ได้ตรงตามสัญญา เพื่อป้องกันไม่ให้มีดอกเบี้ยหรือมีค่าใช้จ่ายอื่นๆเพิ่ม หากชำระล่าช้าจะมีเบี้ยปรับ หรือหากค้างชำระเกินกว่าที่กำหนดไว้จะโดนยึดได้ หรือหนี้ค้างบัตรเครดิตไม่ควรจ่ายแค่ขั้นต่ำ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 18 ต่อปี จะยิ่งทำให้หมุนเงินไม่ไหวและสุดท้ายก็ติดกับดักหนี้สินไปในที่สุด 



3. เป็นหนี้แล้วผ่อนให้หมดเร็ว

รีบโปะบ้านทันทีถ้ามีโอกาส อย่าลืมวางแผนผ่อนหนี้ให้หมดเร็วๆ ตัวอย่างเช่น หนี้บ้าน ควรผ่อนเพิ่มทุกงวดหรือเมื่อมีเงินก้อนก็ทยอยโปะเพิ่ม หรือรีไฟแนนซ์เมื่อครบเงื่อนไข นอกจากจะทำให้ประหยัดดอกเบี้ยแล้วยังช่วยให้บ้านเป็นของเราเร็วขึ้น มีเงินเหลือเก็บออมไว้ใช้ยามเกษียณมากขึ้น 

ต้องคิดให้ดีทุกครั้งก่อนกู้และทบทวนแผนการจ่ายหนี้อย่างสม่ำเสมอ เมื่อมีสัญญาณว่ารายได้ที่มีเริ่มไม่พอจ่ายหนึ้และไม่พอใช้ ควรรีบลดรายจ่ายหรือเพิ่มรายได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ก่อนที่จะจ่ายหนี้ล่าช้าหรือค้างชำระหนี้จนมีดอกเบี้ยหรือเบี้ยปรับเพิ่ม ก็จะยิ่งทำให้ปัญหาหนี้บานปลายจนแก้ไขได้ยากมากขึ้น



ที่มา : https://www.gpf.or.th/thai2019/2Member/knowledgeoom&lang=th

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้