Last updated: 12 ต.ค. 2567 | 33 จำนวนผู้เข้าชม |
อุทยานพระพิฆเนศ องค์ยืน คลองเขื่อน จ.ฉะเชิงเทรา
ประวัติและที่มาอุทยานพระพิฆเนศ องค์ยืน
พระพิฆเนศมีต้นกำเนิดจากความเชื่อในศาสนาฮินดูมานานกว่า 4,000 ปี ก่อนความเชื่อเหล่านี้จะเข้ามาสู่ประเทศไทย กลายเป็นหนึ่งในเทพเจ้าแห่งความสำเร็จที่ชาวไทยสักการบูชา ขอพร เพื่อเสริมสิริมงคล และนำมาซึ่งความสำเร็จแก่ตนเอง
อุทยานพระพิฆเนศ องค์ยืน สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2551 โดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง เป็นสถานที่รวบรวมประวัติศาสตร์ท้องถิ่น และเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยว ที่สร้างความเจริญให้กับชุมชน
องค์พระพิฆเนศทำจากเนื้อโลหะสำริด มีความสูง 30 เมตร รวมฐานด้วย 39 เมตร กำลังประทับอยู่ในท่าที่กำลังก้าวขาไปข้างหน้า แสดงถึงความเจริญก้าวหน้า พระหัตถ์ถือขนุน กล้วย มะม่วง และอ้อย บริเวณด้านบนมีสัญลักษณ์ของโอม ส่วนบริเวณกำไลเท้ามีสัญลักษณ์ของดอกบัว แสดงถึงปัญหา ด้านข้างฝั่งขวามีหนูมุสิกะอยู่ด้วย
อุทยานพระพิฆเนศ องค์ยืน เปิด - ปิดกี่โมง ❓
อุทยานพระพิฆเนศ องค์ยืน บริหารงานโดยมูลนิธิพระพิฆเนศคลองเขื่อน จ.ฉะเชิงเทรา เปิดให้นักท่องเที่ยวหรือผู้ที่ศรัทธาได้เดินทางมาสักการบูชาและกราบไหว้ ตามวันและเวลา ดังนี้
วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 09.00-17.30 น.
วันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 09.00-18.00 น.
นอกจากนี้อุทยานพระพิฆเนศ องค์ยืน ยังมีการจัดงานพิธีพราหมณ์ในช่วงวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ทั้งหมด 3 รอบ ได้แก่ รอบเวลา 11.00 น. 14.00 น. และ 16.00 น. ให้ผู้ที่สนใจได้เข้าร่วมอีกด้วย
โครงการบ้านอุไรสิริ3 บางน้ำเปรี้ยวมา แจกพิกัด อุทยานพระพิฆเนศ องค์ยืน
"อุทยานพระพิฆเนศ องค์ยืน" ไปยังไง ❓
อุทยานพระพิฆเนศ องค์ยืน ตั้งอยู่ถนน คสล. ม.4 ต.บางตลาด อ.คลองเขื่อน จ.ฉะเชิงเทรา หากเดินทางมาด้วยรถยนต์ส่วนตัว สามารถปักหมุดพิกัดกูเกิล แม็ป https://goo.gl/maps/nkP12ejmbJKuHKrHA
ส่วนใครที่เดินทางด้วยรถโดยสารประจำทาง สามารถมาลงที่สถานีขนส่งแปดริ้ว และเรียกรถรับจ้างบริเวณนั้นเพื่อมายังอุทยานพระพิฆเนศ องค์ยืน ได้เช่นกัน
ภายในอุทยานพระพิฆเนศ องค์ยืน นอกจากจะมีองค์พระพิฆเนศองค์ยืนขนาดใหญ่แล้ว ยังมีศาลท้าวมหาพรหม ศาลาพราหมณ์ พิพิธภัณฑ์ และองค์เทพอื่นๆ ให้กราบไหว้และสักการบูชา เพื่อเสริมสิริมงคลและดวงชะตาอีกด้วย
ขอขอบคุณที่มาภาพ : iStock/https://www.thairath.co.th/lifestyle/travel/2802083
3 พ.ย. 2567
30 ต.ค. 2567