Last updated: 4 ธ.ค. 2566 | 758 จำนวนผู้เข้าชม |
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกสามที่กำลังเกิดขึ้น มียอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากการใช้วัคซีนป้องกัน หรือยาต่างๆที่นำเข้าจากต่างประเทศแล้ว ยังมีสมุนไพรพื้นบ้านของไทย ที่เป็นอีกทางเลือกในการช่วยบรรเทาอาการโควิด-19 ได้ บ้านอุไรสิริ3 บางน้ำเปรี้ยวห่วงใยนะคะ
ฟ้าทะลายโจรมีการศึกษาวิจัยกันอย่างแพร่หลาย และได้มีการนำเสนอผ่านสื่ออย่างต่อเนื่อง โดยงานวิจัยที่ได้รับการรับรองแล้วพบว่า กลไกต้านไวรัสของฟ้าทะลายโจรป้องกันไม่ให้ไวรัสเข้าเซลล์ ลดการแบ่งตัวไวรัสภายในเซลล์ เพิ่มภูมิคุ้มกันในการต่อสู้กับไวรัส รวมถึงลดอาการการอักเสบที่ปอดจากการติดเชื้อไวรัส
ขิงมีรสเผ็ดร้อน มีคุณสมบัติอุ่น พบฤทธิ์ต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ โดยทั่วไปแล้วมักนำมากินแก้หวัด ซึ่งขิงนั้นมีสารต้านอนุมูลอิสระ และสารต้านการอักเสบ อยู่มากมาย เช่น Gingerol, Shogaol และ Parabola
มะขามป้อม เป็นยาแก้ไอ ละลายเสมหะ โดยพื้นบ้านใช้รักษาหลอดลมอักเสบ วัณโรคปอด หอบหืด ช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน โดยสารสำคัญในมะขามป้อมสามารถจับกับขาโปรตีนของไวรัสโควิด-19 และตัวรับ ACE2 ซึ่งมีบทบาทการผ่านเข้าเซลล์ปอด และยังเข้าจับกับเชื้อในหลายตำแหน่งที่มีผลต่อการยับยั้งการสร้างและการแบ่งตัวของเชื้อไวรัสได้
ขมิ้นชันจากการศึกษาในหลอดทดลอง พบว่ามีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เอ ในการป้องกันไม่ให้เชื้อเข้าเซลล์ ยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อไวรัส และช่วยยับยั้งการหลั่งสารอักเสบ ทั้งนี้ พบว่าสารสำคัญของขมิ้นชัน และ desmethoxycurcumin สามารถแย่งจับกับตำแหน่งของไวรัสโควิด-19 ที่มีผลยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัสได้
กระเทียม มีฤทธิ์ต่อระบบภูมิคุ้มกัน สาร allicin ในกระเทียม มีฤทธิ์ลดการอักเสบ ป้องกันการหลั่งสาร cytokine ที่ทำให้เกิดการอักเสบ และยังส่งเสริมการทำงานของเม็ดเลือดขาวช่วยเพิ่มแอนติบอดี้ ชนิด (IgA) เป็นด่านแรกของภูมิคุ้มกันในร่างกาย โดยพบมากที่ระบบทางเดินหายใจและระบบทางเดินอาหาร ช่วยกระตุ้นการทำงานของ B-cell lymphocyte และ interferon ซึ่งเป็นสารที่สร้างในระบบภูมิคุ้มกันเพื่อต้านไวรัส ที่ช่วยยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัสโควิด-19 ได้
ยังมี อาหารไทย ที่ส่วนใหญ่มากจะมีส่วนประกอบของ พืช ผัก สมุนไพร ไทยหลายชนิดที่กินแล้วมีคุณสมบัติในการช่วยต้านและเสริมสร้างภูมิต้านทานให้ร่างกายห่างไกลเชื้อไวรัสได้
ที่มา : https://news.trueid.net/detail/MNqe6meY28LN
3 พ.ย. 2567
30 ต.ค. 2567